วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2553

บ็อบ มาร์เลย์ : ผู้กำเนิดเร็กเก้ บทเพลงแห่งเสรีภาพ

0 ความคิดเห็น


โรเบิร์ต บ็อบ เนสตา มาร์เลย์ (อังกฤษ: Robert "Bob" Nesta Marley) นักดนตรีชาวจาเมกา เกิดเมื่อวันพุธ ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 เป็นบุตรชายคนเดียวของ นาง ซีเดลล่า กับ ร้อยเอก นอร์วัล มาร์เลย์ ในชุมชนคนผิวดำ เมืองเชนต์แอนน์ ประเทศจาเมกา มีชื่อเต็มว่า เขาใช้ชีวิตในวัยเด็ก และเติบโตท่ามกลางชุมชนทาสในครอบครัวที่แตกแยก ปี พ.ศ. 2500 มารดาของเขาอพยบครอบครัวเข้าสู่เมืองหลวง คือ กรุงคิงสตัน อาศัยอยู่ในสลัม เทรนช์ทาวน์ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของคนยากจน มีวิถีชีวิตตามความเชื่อดั่งเดิมของคนดำ คือเชื่อว่าตนเป็นลูกหลานของกษัตริย์โซโลมอน และ เป็นชนชาวยิวพลัดถิ่น รอวันกลับสู่แผ่นดินของตน ถิ่นนี้เป็นแหล่งกำเนิดวัฒนธรรมและ ลัทธิรัสตาฟา เรียนิสม์ (rastafarianism) ชีวิตวัยเด็กบ็อบมีนิสัยเห็นแก่ตัว แต่ไม่มีนิสัยลักขโมยแบบเด็กสลัมทั่วไปเขารักเพื่อน และทำทุกอย่างเพื่อเพื่อน อายุ 17 ปีเขาก็เริ่มทุ่มเทให้กับการร้องเพลงฝึกฝนอย่างจริงจัง เริ่มจากการร้องในโรงภาพยนตร์ และไช้เวลาหลังจากเลิกเรียนหัดร้องเพลงกับเพื่อนๆแทนการทำการบ้าน เหมือนพระเจ้าประทานโอกาสมาสู่เขา เมื่อได้มีโอกาสเรียนรู้ด้านดนตรี จาก โจฮิกก์ส ศาสตราจารย์ข้างถนนที่มีความสามารถทางดนตรีอย่างเยี่ยมยอด เขาเริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับดนตรีอย่างจริงจัง

หลายคนคงเคยได้ ยินชื่อ บ็อบ มาร์เลย์ (Bob Marley) หรือบางครั้งอาจจะเคยฟังเพลงผ่านๆโดยไม่รู้ว่าเสียงที่เปล่งออกมาจากชายผู้ นี้มีความหมายและนัยยะบางอย่างแฝงเร้นซ่อนเอาไว้ แม้ดนตรีลักษณะนี้จะมีจังหวะที่สนุกสนาน แต่ใครสักกี่คนจะรู้ว่าข้างในนั้นเต็มไปด้วยความขมขื่นและโหยหาซึ่งเสรีภาพ

บ็อบ มาร์เลย์ มีชื่อจริงว่า โรเบิร์ต เนสต้า มาร์เลย์ เกิดเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 1945 ในเขตชนบทของประเทศจาไมก้า สนใจและลุ่มหลงในดนตรีพื้นบ้าน(เร็กเก้)ของตนเอง โดยดนตรีชนิดนี้เป็นที่นิยมในพวกผู้ใช้แรงงานผิวดำในประเทศ โดยเนื้อเพลงส่วนใหญ่กล่าวถึงการแสวงหาเสรีภาพ สะท้อนมุมมองทางด้านการเมือง การแบ่งแยกสีผิวและความไม่เท่าเทียมกันในสังคม มาร์เลย์ได้ทำให้ดนตรีเร็กเก้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง และเขาเองถูกเรียกว่า ราชาเร็กเก้ มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

มาร์เลย์มีเพียงกีตาร์และฮาร์โม นิการ์คู่ใจ ขับบรรเลงเพลงเรียกร้องเสรีภาพ เรียกร้องถึงจิตวิญญาณความเป็นธรรม และเป็นปากเป็นเสียงให้กับผู้ใช้แรงงานผิวสี หรือพลเมืองชั้นสองในสังคม

บทเพลงของ บ็อบ มาร์เลย์หลากหลายเพลง ถูกขบวนการคนผิวดำและต่อต้านการเหยียดสีผิวนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการ แสดงออกถึงประเด็นทางสังคม กลุ่มขบวนการเหล่านี้คือกลุ่มหรือลัทธิรัสตาฟารี *(Rasta Farians) ที่มีสีประจำคือ แดง เหลือง เขียว สีทั้งสามสีนี้เราสามารถพบเห็นได้ในเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายหลากหลายชนิดของ ผู้คนในสังคมผู้ชื่นชอบดนตรีเร็กเก้ เพราะดนตรีเร็กเก้กับลัทธิกลุ่มรัสตาฟารี (Rasta Farians) แทบจะกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน ความหมายของสีทั้งสามอย่างนี้ก็แผกแตกต่างกันออกไป โดยสีแดงมีความว่า พระอาทิตย์ สีเหลืองมีความว่าผืนดิน สีเขียวมีความหมายว่าต้นไม้และความอุดมสมบูรณ์ และเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของผู้ชื่นชอบดนตรีเร็กเก้ คือการถักผมทรง Dread-lock (ทรงผมทรงหนึ่งที่เป็นที่นิยมใหมู่คนแคริบเบียน)

ที่เป็น สัญลักษณ์และลืมไม่ได้เลยสำหรับผู้นิยมดนตรีเร็กเก้เห็นจะเป็น กัญชา โดยลัทธิรัสตาฟารีมีความเชื่อว่า กัญชาเป็นสมุนไพรเพื่อทำสมาธิและใช้ในการเข้าพิธีกรรมในศาสนา ทุกครั้งเมื่อมีการทำพิธีกรรมต่างๆ ชาวรัสตาฟารีจะต้องเสพกัญชาก่อนเสมอ


มาร์เลย์ตั้งวงดนตรีขึ้นมาชื่อว่า "บ็อบ มาร์เลย์ แอนด์ เดอะ เวลเลอร์ส" (Bob Marley and the Wailers) ในปี 1964 นับเป็นศิลปินเพลงเร็กเกคณะแรกที่โด่งดังไปทั่วโลก

บทเพลงเร็กเก้ เฟื่องฟูมากที่สุดในทศวรรษที่ 1970 โดยการตระเวนเล่นคอนเสิร์ตอย่างสม่ำเสมอและไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยของบ็อบ มาร์เลย์

ในปี 1975 บ็อบมาเลย์ได้แต่งงานกับริต้า พร้อมๆกับการจัดคอนเสิร์ตที่เกือบทำให้เขาจากโลกนี้ไป โดยก่อนหน้าคอนเสิร์ต 2 วัน มีกลุ่มมือปืนมาดักยิงตัวเขา ริต้า และผู้จัดการวงดนตรี แต่โชคดีที่ไม่มีใครเสียชีวิต เขายังคงเดินหน้าแสดงคอนเสิร์ตต่อไปทั้ง ๆ ที่ใช้ผ้าคล้องแขนกับคอเพราะบาดเจ็บ

ปี 1976 บ็อบ มาเลย์ต้องงดรายการคอนเสิร์ตทัวร์ทั่วยุโรป เนื่องจากตรวจพบเป็นมะเร็งที่เท้าขวา อันเนื่องมาบาดแผลระหว่างการเล่นฟุตบอลในอดีตแล้วละเลยไม่รักษา แต่บ็อบก็สัญญากับตัวเองว่า เมื่ออาการดีขึ้น เขาจะกลับมาแสดงคอนเสิร์ตทันที

ในคอนเสิร์ต One Love ที่ จาไมก้าเมื่อ 22 เมษายน 1978 บนเวที บ็อบได้สร้างประวัติศาสตร์ไว้ โดยการให้ประธานาธิบดี และผู้นำฝ่ายค้านขึ้นไปจับมือกัน

เหตุการณ์นี้ส่ง ผลให้เขาได้รับรางวัล The United Nations' Peace Medal ในเดือนมิถุนายน 1978

ปี 1980 บ็อบเป็นผู้นำในการเฉลิมฉลองการประกาศอิสรภาพของซิมบับเวย์ และกันยายนของปีเดียวกันนี้คณะแพทย์ตรวจพบว่ามะเร็งลุกลามไปยังปอดและสมอง ได้ลงความเห็นกันว่าอีกไม่นานราชาเร็กเก้คงจากไป หมดหวังที่จะเยียวยารักษา แต่มาร์เลย์ก็ยังใจแข็งบินไปเล่นคอนเสิร์ตที่ Stanley Theatre นครพิตสเบิร์ก โดยไม่รู้ตัวว่านั่นจะเป็นคอนเสิร์ตครั้งสุดท้ายของตัวเอง

บ็อบ มาเลย์อยากจะกลับจาไมก้าบ้านเกิด แต่ไปไม่ไหว จึงแวะพักที่นครไมอามี และจากโลกนี้ไปเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 1981 ด้วยวัยเพียง 36 ปีเท่านั้น

ศพถูกนำกลับมา ฝังไว้ที่บ้านเกิดในจาไมก้า